• November 21, 2024

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ 59% ควรบังคับให้ใส่ชุดนักเรียนไปโรงเรียนต่อไป

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “สิทธิ เสรีภาพ และกฎระเบียบในโรงเรียน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและกฎระเบียบในโรงเรียน การสำรวจอาศัย

เลือกตั้ง 2566 : ประชาชนยืนยันถ้าเลือกตั้งใหม่ 86% จะเลือกเหมือนเดิม

เลือกตั้ง 2566 : นิด้าโพล เผยผลสำรวจ “คนสมุทรปราการเลือกพรรคไหน”

การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น 97%

จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเครื่องแบบนักเรียน พบว่า

  • 80.53% ระบุว่า เพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย
  • 35.65% ระบุว่า เป็นการบ่งบอกถึงสถานศึกษาของนักเรียน
  • 23.82% ระบุว่า เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน
  • 21.76% ระบุว่า ทำให้ผู้ปกครองประหยัด
  • 20.23% ระบุว่า เป็นการป้องกันการแอบอ้างเป็นนักเรียน
  • 18.17% ระบุว่า เป็นความภาคภูมิใจของนักเรียน/ผู้ปกครอง
  • 11.53% ระบุว่า เพิ่มภาระด้านการเงินให้ผู้ปกครอง
  • 10.00% ระบุว่า ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทุก ๆ โอกาส
  • 6.18% ระบุว่า เป็นการแบ่งชนชั้นระหว่างโรงเรียน
  • 4.73% ระบุว่า เป็นการจำกัดเสรีภาพของนักเรียน
  • 2.60% ระบุว่า ทำให้นักเรียนไม่ปลอดภัย
  • 2.29% ระบุว่า เป็นเครื่องหมายของการกดขี่/อำนาจนิยม
  • 0.15% ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดยกเลิกการบังคับใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน พบว่า

  • 59.47% ระบุว่า การบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนควรมีต่อไป
  • 20.69% ระบุว่า ในรอบสัปดาห์ควรอนุญาตให้ใส่ชุดอื่น ๆ (ชุดไปรเวต) ไปโรงเรียนได้บ้าง
  • 5.88% ระบุว่า สมควรให้นักเรียนได้มีอิสระที่จะเลือกว่าจะใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนหรือไม่
  • 5.04% ระบุว่า ควรให้เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียนอยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารแต่ละโรงเรียน
  • 4.50% ระบุว่า ควรให้เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียนเป็นไปตามประชามติของนักเรียนในแต่ละโรงเรียน
  • 4.27% ระบุว่า สมควรยกเลิกการใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน
  • 0.15% ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามถึงจำนวนวันจากผู้ที่ระบุว่าในรอบสัปดาห์ควรอนุญาตให้ใส่ชุดอื่น ๆ (ชุดไปรเวต) ไปโรงเรียนได้บ้าง (จำนวน 271 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ตัวอย่าง 47.60% ระบุว่า 1 วันต่อสัปดาห์ รองลงมา 37.64% ระบุว่า 2 วันต่อสัปดาห์ 14.02% ระบุว่า 3 วัน ต่อสัปดาห์ และ 0.74% ระบุว่า 4 วันต่อสัปดาห์

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการเรียนวิชาด้านคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในโรงเรียน พบว่า ตัวอย่าง 72.52% ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา 18.24% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย 5.04% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย 3.59% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และ 0.61% ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกฎระเบียบของโรงเรียน พบว่า

  • 69.16% ระบุว่า กฎระเบียบ ของโรงเรียนมีเพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย
  • 46.49% ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนมีเพื่อให้นักเรียนตระหนักในสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ
  • 36.41% ระบุว่า สิทธิเสรีภาพของนักเรียนควรอยู่ภายใต้กฎระเบียบของโรงเรียน
  • 12.29% ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนสำคัญกว่าสิทธิเสรีภาพของนักเรียน
  • 9.31% ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของนักเรียน
  • 4.05% ระบุว่า สิทธิเสรีภาพของนักเรียนสำคัญกว่ากฎระเบียบของโรงเรียน
  • 2.44% ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียน เป็นเครื่องหมายของการกดขี่/อำนาจนิยม
  • 0.31% ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ภูมิลำเนา

8.55% มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ 18.55% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง 17.94% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ 33.43% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13.82% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ 7.71% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก

เพศ

48.24% เป็นเพศชาย 51.76% เป็นเพศหญิง

อายุ

16.72% อายุไม่เกิน 25 ปี 17.02% อายุ 26-35 ปี 18.09% อายุ 36-45 ปี 25.50% อายุ 46-59 ปี 22.67% อายุ 60 ปีขึ้นไปคำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่

ศาสนา

95.11% นับถือศาสนาพุทธ 4.20% นับถือศาสนาอิสลาม 0.69% นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

สถานะ

36.57% สถานภาพโสด 60.61% สมรส 2.82% หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

การศึกษา

24.81% จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 36.26% จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 7.94% จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า 26.56% จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 4.43% จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

อาชีพ

8.70% ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 16.41% ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน 21.68% ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ 12.06% ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง 13.82% ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 19.62% เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 7.71% เป็นนักเรียน/นักศึกษา

รายได้

23.67% ไม่มีรายได้ 18.63% รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท 30.23% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท 9.92% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท 3.13% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท 3.05% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป 11.37% ไม่ระบุรายได้