เปิดรายชื่อ “ซีอีโอไทย”ร่วมฉายภาพผู้นำนักธุรกิจโลก เวทีเอเปคซีอีโอซัมมิท 2022
- admin
- 0
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยถึงความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพ APEC ของประเทศไทยในสัปดาห์นี้ ซึ่งภาคเอกชนได้มีการประชุมและจัดการสัมมนาที่สำคัญเช่นเดียวกันกับภาครัฐ โดยงานใหญ่ของฝั่งภาคเอกชน ที่ กกร. เป็นเจ้าภาพ คือ การประชุม APEC CEO Summit ในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน นี้ เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างนักธุรกิจชั้นนำของเอเปคจาก 21 เขตเศรษฐกิจ โดยจะมีการเชิญผู้นำ และบุคคลสำคัญระดับโลกทั้งจากภาครัฐและเอกชน ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ได้รับการตอบรับจากผู้นำเป็นจำนวนมาก โดยเป้าหมายหลักในการจัดงานครั้งนี้ คือ การส่งเสริมการเปิดเขตเสรีการค้าและการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านสังคมและการพัฒนาในทุกมิต
แม้การตอบรับอย่างเป็นทางการจะยังอยู่ในกระบวนการ แต่ ณ เวลานี้ เราสามารถแจ้งได้ว่า ผู้นำเขตเศรษฐกิจที่ยืนยันอย่างเป็นทางการในการเข้าร่วมงาน เช่น นางกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นางจาซินดา อาร์เดิร์น (Jacinda Ardern) นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ นายแอมานุแอล มาครง (Emmanuel Macron) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายเหงียน ซวน ฟุก (Nguyen Xuân Phúc) ประธานาธิบดีเวียดนาม นายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ นายโฮเซ เปโดร กัสติโย เตร์โรเนส (José Pedro Castillo Terrones) ประธานาธิบดีเปรู, นายกาบริเอล โบริช ฟอนต์ (Gabriel Boric Font) ประธานาธิบดีชิลี
รวมทั้งผู้นำองค์กรระดับโลกอย่าง นายโรเบิร์ต อี มอริตซ์ ประธาน บริษัท PricewaterhouseCoopers ศาสตราจารย์เคลาส์ มาร์ติน ชวับ (Klaus Martin Schwab) ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร World Economic Forum (WEF) เข้าร่วมเป็นต้น นอกจากนี้ ซีอีโอไทยชั้นนำ อาทิ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยังจะร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะและการฉายภาพความเป็นผู้นำของธุรกิจไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่เวทีโลก
สำหรับโอกาสของคนไทยและเศรษฐกิจไทยนั้น การเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC CEO Summit 2022 จะช่วยให้ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น และมีการพัฒนาระบบเพื่อการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน การลดและยกเลิกปัญหาอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของไทยให้เข้าสู่ระบบการค้าโลกได้ เป็นการสนับสนุนการนำไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค นอกจากนั้น ยังจะช่วยเปิดโอกาสด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ให้แก่ผู้ประกอบการ และคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวของผู้นำ บุคคลสำคัญ รวมทั้งซีอีโอ จากทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนระดับโลก ที่ได้รับการเรียนเชิญเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางธุรกิจในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางเศรษฐกิจของโลก นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยและคนไทยทุกคน ที่จะได้รับรู้และรับทราบการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มเศรษฐกิจโลก เนื่องจาก APEC คือเขตเศรษฐกิจที่มี GDP รวมกันไม่ต่ำกว่า 60% เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่เติบโตเร็วและใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น เวทีนี้จึงมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นอย่างมากคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากงาน APEC CEO SUMMIT ก็ยังมีเวทีสำคัญของ กกร. ที่จะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้ ซึ่งประกอบด้วย การประชุม APEC Business Advisory Council – ABAC ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน ซึ่งปัจจุบัน คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (ABAC) ในปีนี้ โดย ABAC ถือเป็นหน่วยงานภาคเอกชนที่เป็นตัวแทนภาคธุรกิจที่ทำหน้าที่เสมือนที่ปรึกษา ให้คำแนะนำแก่ผู้นำเขตเศรษฐกิจในการดำเนินงานส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งหลังการประชุมในเวทีนี้จะมีการนำเสนอประเด็นของ ABAC ต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจ 21 เขตเศรษฐกิจ ในระหว่าง วันที่ 18-19 พฤศจิกายนนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
หอการค้าไทยมองว่า การเป็นเจ้าภาพจัดประชุมที่เวียนมาในรอบ 20 ปี จะทำให้นานาชาติกลับมา Focus ที่ประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งเราต้องใช้โอกาสนี้ในการขยายการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการจัดทำและผลักดัน FTAAP กับประเทศต่าง ๆ ให้มากขึ้น นอกจากนี้ จะเป็นการนำเสนอศักยภาพของประเทศไทย ให้นานาชาติได้เห็นถึงความพร้อมในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ซึ่งในระยะถัดไปจะเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการทำให้ต่างชาติเข้าใจ BCG Model ที่เป็นแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ซึ่งสอดคล้องกับ COP27 และเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย.