เปิดข้อดี "ปลดหนี้" บีทีเอส กทม.จ่ายแล้ว 2.3 หมื่นล้านบาท
- admin
- 0
กทม.ติดหนี้รถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป้นหนี้ค่าติดตั้งระบบรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่เกิดจากการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในปี พ.ศ.2560 โดยแบ่งเป็น
- ส่วนต่อขยายที่ 1 อ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า
- ส่วนต่อขยายที่ 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต – คูคต
โดย กทม.ได้ดำเนินการจ่ายหนี้ก้อนนี้เรียบร้อยแล้ว 2.3 หมื่นล้านบาท พร้อมระบุถึงข้อดีของการจ่ายหนี้ดังกล่าวว่า
- กรุงเทพฯ ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในระบบไฟฟ้าเครื่องกล (E&M) อย่างถูกต้องไม่เกิดปัญหาการโต้แย้งความเป็นเจ้าของกับเอกชน
- ลดความเสี่ยงในการถูกฟ้อง และการคิดดอกเบี้ยผิดนัดเช่นเดียวกับค่าจ้างเดินรถ (O&M)
- กรุงเทพฯ มีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นในการจัดการเดินรถเนื่องจากเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
- ลดภาระค่าดอกเบี้ยในการจัดหา ตามสัญญาจ้างติดตั้งระบบเดินรถ ซึ่งมีค่าดอกเบี้ยประมาณวันละ 3 ล้านบาท
คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
จ่ายหนี้แล้วจะปรับลดค่าโดยสาร หรือไม่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง?
กทม. ระบุว่า การจ่ายหนี้ค่าจ้างงานติดตั้ง ระบบเดินรถ ไม่มีผลต่อค่าโดยสารในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเงินที่ค้างชำระตั้งแต่ปี 2560 เมื่อจ่ายหนี้ครบแล้ว กทม. จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและไม่ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยผิดนัดอีก ในอนาคต หากต้องมีการทำสัมปทานใหม่ กทม. จะมีอำนาจในการเจรจาต่อรองราคาอัตราค่าโดยสารกับผู้รับสัมปทานได้